อะไรพูดได้และพูดไม่ได้: Oversight Board กับบทบาท ‘ศาลสูง’ แห่งเฟซบุ๊ก
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- เฟซบุ๊กเคยเป็นที่ก่อสงครามเฮทสปีชในเมียนมา ที่ข้อความส่งต่อความเกลียดชัง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรง และกลายเป็นใบอนุญาตฆ่าชาวโรฮิงญา
- แม้จะมี “มาตรฐานชุมชน” หรือ Community Standards ที่เป็นข้อกำหนดการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนเฟซบุ๊ก ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควรโพสต์ แต่สังคมก็ยิ่งวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามกับความสมเหตุสมผลของเฟซบุ๊ก ที่เลือกจะลบหรือไม่ลบอะไร
- ปลายปี 2018 มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กจึงผุดไอเดียว่า เฟซบุ๊กจะจัดตั้งคณะกรรมการอิสระมากำกับดูแลการตัดสินใจของเฟซบุ๊ก เพื่อลดข้อครหาว่าเรื่องการใช้อำนาจบาตรใหญ่ในการลบข้อความต่างๆ
- แทนที่ Oversights Board จะทำตัวเป็น “ศาลสูงสุดของเฟซบุ๊ก” แต่คณะกรรมการฯ นี้เป็นแค่โรงละครของเฟซบุ๊กที่เอามาบังหน้าเพื่อเบี่ยงประเด็นความรับผิดชอบของตัวเอง แทนที่สังคมจะไปตั้งคำถามกับระบบเอไอของเฟซบุ๊กที่ถูกออกแบบมาให้มีแนวโน้มแพร่กระจายเฮทสปีชอยู่แล้ว แต่เฟซบุ๊กกลับมาทำเป็นแสดงความรับผิดชอบที่ปลายน้ำผ่านคณะกรรมการฯ
...
Author
ณัฐกานต์ อมาตยกุล
นักเขียนและนักแปลอิสระ กำลังศึกษาต่อปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติศึกษา มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา (Ewha Graduate School of International Studies)