หยุดวิกฤติ! อย่าให้ลากิจเป็นลาก่อน : เมื่อการ ‘ลางาน’ กลายเป็นปัญหาความเชื่อใจในองค์กร
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- แม้การลางานจะเป็นสิทธิตามกฎหมาย แต่ก็ใช่ว่าการลางานทุกครั้งจะราบรื่น ยิ่งหากมีหัวหน้างานที่จัดลำดับความสำคัญในชีวิตต่างจากเรา หรือในทางกลับกัน หากเราเป็นหัวหน้าที่เชื่อใจลูกน้อง ไม่เคยสงสัยการลางานตามสิทธิ แต่ลูกน้องกลับใช้โอกาสนี้ หาข้ออ้างขาด ลา มาสายเป็นประจำ ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งจนกระทบการทำงาน
- ด้วยเหตุนี้ นอกจากปฏิบัติตามกฎขององค์กรแล้ว ทั้งหัวหน้าและลูกน้องอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ เป็นกรณีไป ซึ่งการเอาใจเขาใส่ใจเรา ก็เป็นอีกทักษะหนึ่ง ที่ทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีนอกจากความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานของตน
- แต่ถึงแม้พนักงานจะบริหารเวลาได้ดี ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่า เมื่อจำเป็นต้องลางาน หัวหน้างานจะเข้าใจและยินยอมโดยดี เพราะมีหัวหน้างานจำนวนหนึ่งที่ไม่เข้าใจความยากลำบากหรือภาระของพนักงานที่ต้องแบกรับในครอบครัว หรือบางคนก็เลือกที่จะทำเป็นมองไม่เห็น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
- หากต้องทำงานกับหัวหน้าที่ขาดความเข้าอกเข้าใจต่อสิ่งที่พนักงานต้องเผชิญในครอบครัว มองแต่ผลสำเร็จของงานโดยไม่ดูแลจิตใจคนทำงาน พนักงานจำเป็นต้องหาวิธีรับมือหัวหน้า ขณะเดียวกันก็ขอความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัว เพื่อบริหารตารางเวลาให้ลงตัวสำหรับทุกคนมากที่สุด
- อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า เป็น HR หรือเป็นพนักงาน เมื่อถอดหมวกแห่งหน้าที่ที่สวมใส่ออก ทุกคนก็ต่างเป็นพ่อแม่ เป็นลูก เป็นคนที่มีครอบครัวให้ดูแล มีแมวที่ต้องให้อาหาร มีน้องหมาที่ต้องพาไปฉีดวัคซีน มีวันที่พร้อมสู้ และวันที่ใจบอกไม่ไหว ซึ่งหากในการทำงานทุกคนรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ลุล่วงไปได้ การลางานก็ไม่น่าเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความแคลงใจระหว่างกัน
...
Author
ภาวดี อภิบุญวัฒน์
อดีตนักเขียนในแวดวงแม่และเด็ก ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ ที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี และเป็นคุณแม่ของลูกสาว Homeschool