ทะเลาะกันผ่านโซเชียลฯ แล้วไปไหน : ทำไมบางคนถึงจริงจังกับการ ‘เอาชนะ’ กันบนโลกออนไลน์
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- ใครที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ คงคุ้นเคยกับตัวเลขบอกจำนวนผู้แสดงความรู้สึก และแสดงความคิดเห็นในโพสต์นั้นๆ ซึ่งเมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์แต่ละครั้งก็มีโอกาสมากว่า คนเราต้องพบเห็นกับความคิดที่หลากหลาย จากหลักสิบไปจนถึงหลักร้อย หลักพัน และยิ่งความคิดเห็นมากเท่าใด โอกาสที่จะพบความคิดเห็นที่ไม่ชอบใจ หรือแตกต่างจากเรา ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
- เพราะแม้ว่า ‘ความต่าง’ จะเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ และเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ดำรงอยู่ได้เพราะความต่างเหล่านี้ แต่ความต่างยังก่อให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ที่บางคนอาจ ‘กล้า’ มากกว่าในชีวิตจริง ไม่ว่าจะกล้าแสดงตัวตนอย่างเต็มที่ แสดงความคิดเห็นอย่างสุดโต่ง ไปจนกระทั่งวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น แบบที่หากพบกันซึ่งๆ หน้าก็คงไม่มีใครกล้าทำ
- ทั้งนี้ มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ผู้ที่มีบุคลิกในการใช้โลกออนไลน์ 3 รูปแบบต่อไปนี้ มีแนวโน้มที่จะโต้เถียงกับคนที่ไม่รู้จักทางโซเชียลมีเดีย คือ 1) มีความยับยั้งชั่งใจต่ำ, 2) อ่อนไหวต่ออุดมการณ์ และ 3) ทำตัวเป็นนักรบคีย์บอร์ด ซึ่งล้วนนำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจบานปลาย
- ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่คิดว่าการแสดงความคิดเห็นนำไปสู่การโต้เถียงที่รุนแรง ดุเดือด ปะทะอารมณ์มากกว่าใช้เหตุผล ควรหยุด และถอยออกมา เพราะเราควรให้ความสำคัญกับการดูแลสภาพจิตใจของตนเองมาเป็นอันดับแรก
- สุดท้ายแล้ว ก่อนปะทะอารมณ์กับใครในโลกออนไลน์ เราจึงน่าจะลองถามตัวเองว่า การโต้เถียงนี้คุ้มค่าไหม หรือควรเอาเวลาในชีวิตไปดูแลความสัมพันธ์ดีๆ ในชีวิตจริง ซึ่งอาจจะคุ้มค่ากว่า?
...
Author
ภาวดี อภิบุญวัฒน์
อดีตนักเขียนในแวดวงแม่และเด็ก ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ ที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี และเป็นคุณแม่ของลูกสาว Homeschool