หัวหน้าคอมเมนต์งานแบบ ‘ทำร้ายใจ’ – ทำอย่างไรเมื่อเจอคำวิจารณ์ที่ไม่สร้างสรรค์ในองค์กร
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
Summary
- ในโลกของการทำงานยุคใหม่ที่ซับซ้อน ใช่ว่าทุกคนในองค์กรจะมีศักยภาพในการสื่อสารที่เท่าเทียมกัน บางคนอาจสื่อสารเก่ง ขณะที่บางคนอธิบายงานไม่เคลียร์ หรือวิจารณ์งานแต่ละที ก็ทำให้คนฟังเสียเซลฟ์ไปตามๆ กัน ซึ่งหากเป็นเพื่อนร่วมงาน ก็อาจพอบอกกล่าวทำความเข้าใจกันได้ แต่หากเป็นหัวหน้างานที่ขาดทักษะการสื่อสารที่ดี ฟีดแบ็กงานทีไร มีแต่บั่นทอนจิตใจคนทำงาน
- มนุษย์ทำงานจำนวนไม่น้อย ต้องเผชิญสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับตัวอย่างในข้างต้น ซึ่งเมื่อหัวหน้างานขาดทักษะการสื่อสารที่ดี ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันก็อาจทำให้คนฟังไม่เพียงเสียกำลังใจ แต่ยังเสียความรู้สึก จนกลายเป็นจุดด่างพร้อยในความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
- หัวหน้าบางคนอาจมีความเชื่อว่า การฟีดแบ็กงานแรงๆ ตรงๆ ไม่รักษาน้ำใจ เป็นการแสดงออกในนามของ ‘ความจริงใจ’ และ ‘ความหวังดี’ โดยเชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยสร้างแรงผลักดันให้ลูกทีมมีความพยายาม และเก่งขึ้น คล้ายกับพ่อแม่ที่มักจะติเตียนมากกว่าเอ่ยปากชมลูกตัวเอง เพราะกลัวว่าการชมจะทำให้ลูกเหลิง จึงเลือกจดจ่อแต่จุดที่ผิดพลาด แล้ววิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งวิธีนี้อาจได้ผลแค่เพียงระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาว มักนำไปสู่การทำงานด้วยความหวาดระแวง กลัวผิด สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง และขาดแรงจูงใจในการทำงานได้
- ฉะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหรือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องรับฟีดแบ็ก การรู้ทันรูปแบบการวิจารณ์งาน อาจช่วยให้แต่ละฝ่ายเข้าใจตนเองและเข้าใจกันและกันมากขึ้น หัวหน้าเองหากสังเกตและตระหนักรู้เท่าทันเจตนาของการให้ฟีดแบ็กงานแต่ละครั้ง ก็อาจค้นพบว่าบางคำพูดของเรากำลังบั่นทอนใจคนทำงานมากกว่าสร้างกำลังใจ และสำหรับพนักงาน การรู้เท่าทันรูปแบบการวิจารณ์งานของหัวหน้า ก็จะช่วยให้หาวิธีรับมือได้ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น
- สิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องรับมือคำวิจารณ์รุนแรงจากหัวหน้างานบ่อยๆ ก็คือ การหมั่นตรวจสอบความมั่นใจ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ระลึกอยู่เสมอว่า คุณค่าของเราในตำแหน่งงาน และในฐานะมนุษย์คนหนึ่งนั้น มีมากเกินกว่าที่คำวิจารณ์ร้ายๆ เพียงไม่กี่คำจะตัดสินได้
...
Author
ภาวดี อภิบุญวัฒน์
อดีตนักเขียนในแวดวงแม่และเด็ก ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ ที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี และเป็นคุณแม่ของลูกสาว Homeschool