เรียนศิลปะ (บ้านเรา) แล้วไปไหน #2: ทำไมศิลปะต้องแลกด้วยความอดทน และอาจไม่ใช่ทุกคนที่ทำสำเร็จ? สนทนากับ ลี Speedy Grandma
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ‘เรียนศิลปะ (บ้านเรา) แล้วไปไหน’ คือชุดบทสัมภาษณ์สามตอนจบที่ชวนสามศิษย์เก่ามาวิพากษ์ถึงระบบการศึกษาสาย ‘ศิลปะ’ ในประเทศไทย รวมถึงโครงสร้างของสังคมที่ไม่ได้เอื้อเฟื้อพื้นที่ให้คนทำงานสายนี้มากพอ จนหลายคนต้องใช้ ‘ลูกฮึด’ ในการมีชีวิตให้อยู่รอดไปพร้อมๆ กับการขวนขวายทำงานศิลปะที่ตัวเองรัก - มองสายศิลปะและออกแบบในไทยไปกับ ลี-อัญชลี อนันตวัฒน์
- หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อของ ‘Speedy Grandma’ พื้นที่ทางเลือกของศิลปะร่วมสมัย ที่มักจัดแสดงงานของศิลปินอย่างหลากหลาย ผลักดันศิลปินหน้าใหม่ และยังมีกิจกรรมเจ๋งๆ นับไม่ถ้วน -- Speedy Grandma แห่งนี้ถือกำเนิดมาจากพลังของ ลี - อัญชลี อนันตวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้หญิงเจ้าของ DNA มันๆ แบบที่ Speedy Grandma เป็น
- ในฐานะอาจารย์และเจ้าของพื้นที่ทางเลือก ลีมองว่าการเป็นศิลปินในประเทศนี้นั้นไม่ง่ายและเต็มไปด้วยข้อจำกัด ศิลปินส่วนใหญ่ต้องทำงานอื่นเพื่อปากท้องและหาทุนมาทำงานศิลปะ ขณะที่ทุนสนับสนุนจากภาครัฐมักมอบให้กับศิลปินที่นำเสนองานแบบอนุรักษนิยมเท่านั้น และเมื่อพูดถึงการเรียนออกแบบ ในไทย หลายครั้งที่การศึกษาบอกให้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดและใช้ศิลปะเพื่อทำให้สินค้าขายได้ ขณะที่เทรนด์ของศิลปะในหมู่คนรุ่นใหม่เริ่มหันมาใส่ใจสังคมมากขึ้น
...
Author
ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์
บรรณาธิการโซเชียลมีเดีย