'ผู้ค้าปลีกรายย่อย' ผู้รับกรรม 'ตัวเล็กสุด' จากความผิดอาญาขายสลากกินแบ่งฯ เกินราคา
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ในอดีตพบปัญหาจากระบบการจัดสรรสลากแบบโควตาที่เป็นระบบผูกขาดกับตัวแทนจำหน่ายที่เป็นนิติบุคคลรายใหญ่ ราคาถูกกำหนดโดย 'พ่อค้าคนกลาง' ที่เรียกว่า "ยี่ปั๊ว" (พ่อค้าคนกลางลำดับที่ 2) หรือ "ซาปั๊ว" (พ่อค้าคนกลางลำดับที่ 3) ต่อยอดเกิดมูลค่าส่วนเกินไปในแต่ละทอด
- แม้ว่าในช่วงปี 2558 รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปรับโควตาสลาก คือ ไม่ต่อสัญญาตัวแทนจำหน่ายสลากประเภทองค์กรและนิติบุคคลที่ไม่เกี่ยวกับคนพิการ มีการให้โควตาผู้ค้าปลีกโดยตรง แต่ก็พบว่าไม่พอขายเลี้ยงชีพได้ จึงต้องไปซื้อต่อจากพ่อค้าคนกลางมาเพื่อให้สามารถพอขายเลี้ยงชีพได้ แต่ก็ซื้อมาเฉลี่ยราคาใบละ 80 บาทแล้ว ทำให้ต้องขายเกินราคาเพื่อให้ได้กำไร
- พบว่า 'ผู้ค้าปลีกรายย่อย' ที่อยู่ปลายสายพานของการส่งต่อสลากฯ มักจะไม่ได้เข้าถึงสลากโดยตรง และมักเป็น 'ผู้รับกรรมตัวเล็กที่สุด' จากการกำหนดโทษให้การจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาเป็นความผิดอาญา
- ผู้ประกอบอาชีพค้าปลีกสลากฯ นี้มักจะมีรายได้น้อย แต่กลับต้องเสี่ยงที่จะถูกจับและโดนค่าปรับสูง ในช่วงปี 2558-2563 มีการจับกุมในข้อหาจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 12,638 คดี รวมผู้ต้องหา 25,158 คน
...
Author
วิทย์ บุญ
‘แรงงานรับจ้างอิสระ’ สนใจประเด็นแรงงาน และทำงานเรื่องนี้ร่วมกับสื่อ องค์กรพัฒนาเอกชน สถานศึกษา ฯลฯ มาตั้งแต่ปี 2549 จวบจนปัจจุบัน