รากฐานนิยมเทคโนโลยี และข้อจำกัดของตลาดคาร์บอน
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ‘ฉากทัศน์’ กว้างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายและทิศทางการมุ่งหน้าสู่เป้า Net Zero ของประเทศไทย ฉากทัศน์แรกอาจเรียกได้ว่า อนาคตแบบ ‘เขียวเป็นธรรม’ (just green) ที่ไทยบรรลุเป้า Net Zero ได้ด้วยการปฏิรูประบบการวางแผนพลังงาน ทลายอำนาจผูกขาดและผลประโยชน์ทับซ้อนของอุตสาหกรรมฟอสซิลสำเร็จ เพิ่มการกระจายอำนาจในการจัดการพลังงานสู่ท้องถิ่น
- ฉากทัศน์ที่สองคือ อนาคตแบบ ‘ฟอกเขียว’ (greenwashing) ซึ่งประเทศไทยบรรลุเป้า Net Zero ได้เหมือนกัน แต่มีต้นทุนราคาแพงของทั้งสังคม เพราะได้มาด้วยการเน้นเอาเงิน ‘ซื้อ’ คาร์บอนเครดิตในตลาด รวมถึงเน้นการทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล แทนที่จะเน้นมุ่ง ‘ลด’ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างจริงจัง
- ในการประชุมการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยรวมผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชนส่วนใหญ่ในงานยังมีทัศนคติแบบ ‘รากฐานนิยมเทคโนโลยี’ และเชื่อมั่นว่าตลาดคาร์บอนควรเป็น ‘ทางออกหลัก’ ของประเทศไทยในการรับมือภาวะโลกรวนและมุ่งสู่เป้า Net Zero
- ผู้เขียนมองว่า ตราบใดที่แผน Net Zero ของไทยยังถูกครอบงำด้วยทัศนคติแบบรากฐานนิยมเทคโนโลยี และเน้นการโปรโมตตลาดคาร์บอน ตราบนั้น Net Zero ของไทยก็สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การ ‘ฟอกเขียว’ ที่ไม่ช่วยให้เราเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างทันการณ์และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
...
Author
สฤณี อาชวานันทกุล
นักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระด้านการเงิน มีความสุขกับการทำงานในประเด็น ธุรกิจที่ยั่งยืน พลังพลเมือง และเกม