Soft Power กับการตีความที่ ‘ผิดความหมาย’ ของรัฐไทย
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- หลังๆ มานี้ คำว่า Soft Power หรือ ‘อำนาจละมุน’ มักได้รับการพูดถึงแบบวงกว้างในบ้านเรา เนื่องจากรัฐบาลไทยในปี 2565 ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกคำสั่งให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงใช้ Soft Power เพื่อเชื่อมโยงความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงในการเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมไทย
- แต่การตีความคำว่า Soft Power ที่ไม่ตรงความหมายที่แท้จริงของคำคำนี้ ก็ไม่ต่างอะไรไปจากการติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก เพราะแท้จริงแล้ว Soft Power เป็นการนำวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปจนถึงอุตสาหกรรมบันเทิง มาใช้โน้มน้าวเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของต่างชาติ โดยที่ไม่ต้องแข่งขัน และไม่ต้องใช้อำนาจในการคุกคามเหมือน Hard Power หรือ ‘อำนาจกระด้าง’ คือการใช้อำนาจรัฐที่ส่งผ่านกองทัพ หรือนโยบายทางเศรษฐกิจ ในการเจรจาต่อรองทางการเมืองกับนานาประเทศ
- และเมื่อติดกระดุมเม็ดแรกผิดมาตั้งแต่ต้น กระดุมเม็ดที่สองซึ่งคือนโยบาย ‘1 ครอบครัว 1 Soft Power’ ของพรรคเพื่อไทย ที่มีการตั้งชื่อไว้ว่า OFOS (One Family One Soft Power) เพื่อต่อยอดจากโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ที่เคยมีมาก่อนหน้า ก็ย่อมผิดตามไปด้วย เพราะหัวใจสำคัญของ Soft Power ไม่ใช่การพัฒนาคน เช่นเดียวกันกับการไม่ได้เป็นการพัฒนาทักษะของวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
...
Author
ศรัณยู ตรีสุคนธ์
นักเขียนฟรีแลนซ์ด้านภาพยนตร์-ดนตรี สนุกกับการแปลข่าวบันเทิงและสัมภาษณ์ศิลปินต่างประเทศ ชอบดูคอนเสิร์ตเป็นชีวิตจิตใจ พร้อมกันนั้นก็ถ่ายรูปสตรีทเป็นงานอดิเรกกึ่งจริงจัง