“ฉันคิดว่าจะไม่มีทางโดนหลอก แต่ก็โดนจนได้” อะไรทำให้คนรุ่นใหม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ?
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- แม้เราจะเข้าใจกันว่า เหยื่อมิจฉาชีพมักเป็นคนแก่ คนที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร หรือไม่เท่าทันเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันเหยื่อคอลเซ็นเตอร์หลายคนมีรายได้สูง คนวัยทำงาน และคนที่จบการศึกษาสูง
- สิ่งที่มิจฉาชีพทำคือ ใช้หลักทางจิตวิทยา ‘สะกดจิต’ ให้เหยื่อรู้สึกกลัว มึนงง ถูกผลักให้ต้องตัดสินใจด้วยความหุนหันพลันแล่นก่อน แล้วเมื่อค่อยๆ หลอกให้เหยื่อหลงกลได้แล้ว เขาจะใช้วิธีการปลอบประโลมด้วยบริการแก้ปัญหาที่จะช่วยให้เราหาทางออกได้
- ด้วยหลักการนี้นำมาประกอบกับเข้ากับสถานการณ์ทางสังคมที่เราพบเจอ ไม่ว่าจะปัญหาระบบราชการล่าช้า กระบวนการยุติธรรมที่ไม่เที่ยงตรง ทำให้สตอรี่อย่าง เจ้าหน้าที่รัฐโทรมาบอกว่าพัสดุตกค้างของเราเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือชื่อเราเป็นบัญชีม้าของธุรกิจสีเทา ดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือขึ้นมา
- กลเม็ดที่สร้างความสมจริงให้คนเชื่อคือ มิจฉาชีพนำข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐจริงๆ มาหลอก และใช้เทคโนโลยี deepfake ปลอมตัวพูดคุย ต่อให้เรานำชื่อที่มิจฉาชีพอ้างไปเสิร์ชก็จะเจอชื่อคนจริงๆ
- ในหลายๆ ประเทศ คนที่มีการศึกษาสูงก็ถูกหลอกด้วยหลักการแบบนี้เช่นกัน แต่มีสถานการณ์ที่ต่างออกไป เช่น นักจิตวิทยาอเมริกันถูกหลอกว่าจะถูกเพิกถอนใบวิชาชีพ เนื่องจากไม่ไปร่วมสอบปากคำคดีของคนไข้ หรือคนหนุ่มสาวสิงคโปร์ถูกหลอกให้สแกนคิวอาร์โค้ดทำแบบสอบถามเพื่อแลกกับชานมฟรี แต่สุดท้ายเป็นการติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน
...
Author
สุดารัตน์ พรมสีใหม่