Good on Paper : ถึงเขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ‘การหลอกลวง’ ดูเหมือนจะเป็นธีมหลักของหนัง Good on Paper ที่เล่าเรื่องราวของนักแสดงสแตนด์อัพคอเมดี้สาวที่เบื่อหน่ายกับการเดตผู้ชายในฮอลลีวูดเต็มที จนเธอได้มาพบกับ ‘ผู้ชายธรรมดา’ ที่เปี่ยมอารมณ์ขัน ทั้งยังบอกว่าตัวเองมีทั้งฐานะ การงาน และบ้านสุดหรู ก่อนพบว่า หลายอย่างที่เขาพูดนั้นอาจเป็นเรื่องหลอกลวงทั้งเพ
- แต่เมื่อฝ่ายหญิงเริ่มระแคะระคายว่าอาจถูกฝ่ายชายโกหก เธอจึงพยายามหาเหตุผลมาหักล้างในช่วงแรกๆ ซึ่งกระบวนการทางความคิดแบบนี้เรียกว่า Cognitive Dissonance หรือ ‘ภาวะการรับรู้ไม่ลงรอย’ ที่มักปฏิเสธความคิดความเชื่อใหม่ที่ขัดแย้งกับแนวคิดเก่าของตัวเอง และทำให้รู้สึกอึดอัด กังวล รู้สึกผิด หรืออับอาย จนทำให้ต้องหาเหตุผลมาเข้าข้างความคิดและการกระทำของเรา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ‘การหลอกตัวเอง’
- ในแง่ของการหลอกลวง หนังยังมีอีกประเด็นที่น่าสนใจอย่าง ‘การตัดสิน’ รวมอยู่ด้วย กล่าวคือคนเรามักประเมินและตัดสินคนอื่นอยู่ตลอดเวลา จนหลายครั้ง เราไม่รับรู้ข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับคนคนนั้น อย่างที่ตัวละครหญิงตัดสินตัวละครชายจากการแต่งตัว พฤติกรรมภายนอก และคำพูดของเขา ทำให้เธอรู้สึกว่าเขาเป็นคนไว้ใจได้ และยอมเป็นแฟนกับเขา ทั้งที่เธอไม่รู้เรื่องอื่นเกี่ยวกับเขาเลย
...
Author
นภัทร มะลิกุล
รักในการขีดเขียน ชอบเสพงานศิลปะ โดยเฉพาะหนังและหนังสือ ปัจจุบันเป็นฟรีแลนซ์อยู่ที่ขอนแก่น และเป็น co-founder ของบล็อกสำหรับคนรักหนัง afterthescene