ฟ้าหลังฝนของคนจีนบนถนนนางงาม : เอ๋-ปกรณ์ รุจิระวิไล พาซึมซับนิทรรศการ Chinese Spring ในงาน Pakk Taii Design Week สงขลา
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- หากเราจะเรียก ‘พี่เอ๋’ หรือ ปกรณ์ รุจิระวิไล -ชายหนุ่มผู้เป็นที่รักใคร่ของชาวเมืองเก่าสงขลา และเจ้าของพื้นที่สำหรับงานศิลปะสร้างสรรค์อย่าง a.e.y.space บนถนนนางงาม- ว่าเป็น ‘พ่องานภาคปฏิบัติ’ สำหรับ ‘งานเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้’ หรือ Pakk Taii Design Week 2023 ก็คงไม่เกินความจริงนัก
- ในวันที่เราบินจากกรุงเทพฯ เพื่อมาพบปะกับเขา งานนี้จัดขึ้นมาเป็นวันที่ห้าแล้ว และกำลังจะสิ้นสุดลงในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคมนี้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังพอมีเวลาเหลืออยู่บ้าง เพื่อให้เราได้เดินทางมาซึมซับบรรยากาศของตัวเมืองสงขลา และหลากหลายนิทรรศการ/กิจกรรมในธีม ‘The Next Spring หลบเริน แล้วผลิบาน’ ที่พยายามประสานเรื่องเล่าเก่าและใหม่ภายในพื้นที่เข้าด้วยกัน
- แน่นอนว่า นิทรรศการหลักที่เกี่ยวพันกับ ‘คนเชื้อสายจีน’ แบบพี่เอ๋อย่างลึกซึ้งถึงราก ก็คือ Chinese Spring นิทรรศการจีน 5 เหล่า อันเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม ‘รากของปักษ์ใต้’ (Pakk Taii Roots) – ซึ่งเขาก็กึ่งเดินกึ่งวิ่งฝ่าปรอยฝนของสงขลา และอาสาพาพวกเราไปชมด้วยรอยยิ้มแจ่มใส ในฐานะไกด์กิตติมศักดิ์
- “เราคงพอจะทราบกันมาบ้าง ว่าคนจีนมี 5 เหล่า หรือมี 5 สำเนียงด้วยกัน คือ แต้จิ๋ว, ไหหลำ, ฮกเกี้ยน, ฮากกา และกว๋างสิว (กวางตุ้ง) ซึ่งมีบุคลิก หรือทักษะชีวิตที่ต่างกัน เราเลยสนใจที่จะเล่าให้คนได้รู้ว่า คนจีนแต่ละเหล่าในเมืองสงขลา เขาก่อร่างสร้างตัวกันมาแบบไหน หรือมีชีวิตความเป็นอยู่ยังไง” โดยนิทรรศการนี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 งานใน 3 สถานที่ คือ Home ที่บ้านเก้าห้อง, Spirit ที่สมาคมฮกเกี้ยน และ Bloom ที่ a.e.y.space
- “มีหลายคนหลายรุ่นเดินเข้ามาบอกเรา ว่าเขาเข้าใจในหลายสิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอในงานนี้นะ ว่าเรากำลังพยายามจะพูดถึงการปรับตัวเข้าหากันระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ทั้งที่เรายังไม่ต้องไปอธิบายกับเขาเลยด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราดีใจมาก” พี่เอ๋เล่า
- “เราคิดว่า จริงๆ ทุกจังหวัดควรมีโอกาสได้จัดงานแบบนี้นะ ทุกคนควรได้มีพื้นที่ในการเล่าเรื่องราวของบ้านตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการไหนก็ตาม เพราะอย่างน้อย เรื่องที่เราได้เล่าออกไปมันจะกลายมาเป็นบทบันทึกทางประวัติศาสตร์บางอย่าง เรารู้สึกว่าการที่เราได้บันทึกเรื่องพวกนี้มันโคตรดี ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง หรือวิดีโอของผู้คน หรือเมืองที่เราใช้ชีวิตอยู่ – ซึ่งมันไม่ใช่ว่าใครจะทำก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่อยู่ในท้องถิ่นเองนั่นแหละที่ลงมือทำ”
...
Author
ธีพิสิฐ มหานีรานนท์
บรรณาธิการสายศิลปวัฒนธรรม