ทำไมตัวเลขเศรษฐกิจดี จึงไม่ทำให้ประชาชนมีความสุขเสมอไป
-ก
ก
ก+
Light
Dark
ฟังบทความ
...
LATEST
Summary
- ริชาร์ด อิสเตอร์ลิน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสุขของประชาชนกับการเติบโตของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา และได้ผลลัพธ์ที่ชวนฉงนสงสัย เพราะความสุขจะสัมพันธ์กับระดับรายได้หากพิจารณาแบบจุดเวลา แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับสูญหายไปเมื่อพิจารณาแบบช่วงเวลา แวดวงเศรษฐศาสตร์เรียกข้อค้นพบดังกล่าวว่า ปฏิทรรศน์ของอิสเตอร์ลิน (Easterlin Paradox) หรือปฏิทรรศน์ของความสุข (Paradox of Happiness)
- การศึกษาเชิงประจักษ์พบว่า ความสุขของเราไม่ได้เกิดจากความต้องการขั้นพื้นฐานเพียงลำพัง แต่ยังเกิดจากการ ‘เปรียบเทียบ’ กับคนอื่นๆ ในสังคม นั่นหมายความว่าความเหลื่อมล้ำก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อความสุขของประชาชนเช่นเดียวกับระดับการเติบโตของรายได้
- เป้าหมายสำคัญของภาครัฐ คือ การสร้างสวัสดิการสูงสุดแก่สังคม นั่นหมายความว่าการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจเพียงลำพังย่อมไม่เพียงพอ แต่สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผลประโยชน์กระจายอย่างถ้วนหน้า ไม่ใช่กระจุกอยู่กับคนจำนวนหยิบมือ
...
Author
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย Climate Finance Network Thailand บัณฑิตด้านการเงินและการบัญชีที่เคยผ่านงานทั้งมูลนิธิ สตาร์ตอัพ ไปจนถึงธนาคารข้ามชาติ ที่ชอบใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน เขียน เรียนคอร์สออนไลน์ ทำอาหาร และวิ่งตามลูกชายวัยกำลังซน